SI-Article
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/76
Browse
Recent Submissions
Publication Open Access การบริหารงานโรงพยาบาลร่วมสอนของภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมิดล(2554) วิทเชษฐ์ พิชัยศักดิ์; Witchet PichaisakPublication Open Access มรณานุสรณ์: ๑๐๐ ปี ชาตกาลรำลึก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประดิษฐ์ ตันสุรัต(2554) สัญญา สุขพณิชนันท์; Sanya SukpanichnantPublication Open Access วัยหมดประจำเดือนกับโรคติดเชื้อระบบสืบพันธุ์สตรี(2554) เจนจิต ฉายะจินดา; Chenchit ChayachindaPublication Open Access การดื้อยาต้านจุลชีพ : ความสำคัญต่อระบบสุขภาพ(2554) วิษณุ ธรรมลิขิตกุล; Visanu ThamlikitkulPublication Open Access ศาสตราจารย์ นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ(2554) ศุภกร โรจนนินทร์Publication Open Access การศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล(2555) รัชฎาภรณ์ นะมาเส; Ratchadaporn NamasePublication Open Access Publication Open Access ประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคจอตาโดยการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลการฉีดยาเข้าวุ้นตา(2565) โสมนัส ถุงสุวรรณ; พิชญะ เลาหชัย; ปิติพล ชูพงศ์; นพศักดิ์ ผาสุขกิจวัฒนา; กษมา แก้วสังข์ทอง; Somanus Thoongsuwan; Pitchayah Laohachai; Pitipol Choopong; Nopasak Phasukkijwatana; Kasama Kaewsangthongปัจจุบันการฉีดยาเข้าวุ้นตาเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับโรคจอตาหลายโรค โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับการฉีดยามากกว่าหนึ่งครั้งและรับการตรวจติดตามเป็นระยะเวลานาน การทบทวนประวัติการฉีดยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความซับซ้อน ใช้เวลานานและมีโอกาสผิดพลาดสูงโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาหลายครั้ง คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลการฉีดยาเข้าวุ้นตา (IVT program) ขึ้น เพื่อช่วยให้การดูแลรักษา การตรวจติดตามและการวางแผนการรักษาผู้ป่วยทำได้ง่ายขึ้น รวมทั้งลดความผิดพลาดและระยะเวลาในการค้นหาข้อมูล นอกจากนั้นยังได้ทำการวิจัยขึ้นเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ IVT program ในการใช้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตาเทียบกับวิธีการค้นหาข้อมูลแบบปัจจุบันด้วยระบบเวชระเบียน โดยดูจากระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลโดยอาสาสมัครแพทย์ประจำบ้านจำนวน 15 คน ทำการลงข้อมูลในแบบทดสอบที่มีระดับความซับซ้อน 3 ระดับ ระดับละ 2 ชุดโดยแบบทดสอบชุดที่ 1 ค้นข้อมูลจาก IVT program และแบบทดสอบชุดที่ 2 ค้นข้อมูลจากระบบเวชระเบียน และมีเจ้าหน้าที่เก็บระยะเวลาที่ใช้ลงข้อมูลและความถูกต้องในแต่ละแบบทดสอบเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า IVT program สามารถลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการหาข้อมูลจากระบบเวชระเบียน นอกจากนั้นความถูกต้องของข้อมูลจากการค้นด้วย IVT program ยังสูงกว่าการค้นจากระบบเวชระเบียนแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น IVT program จึงมีประสิทธิภาพช่วยลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมรวดเร็วยิ่งขึ้นและมีความถูกต้องไม่ต่างกันPublication Open Access การพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์ยีน TPMT ด้วยเทคนิค Multiplex ARMS-PCR ของห้องปฏิบัติการสาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี โรงพยาบาลศิริราช(2565) ปรียนันท์ ศิระประภาภัสส์; กชปิญชร จันทร์สิงห์; เจษฎา บัวบุญนำ; Preeyanun Siraprapapat; Kochpinchon Chansing; Jassada Buaboonnamห้องปฏิบัติการสาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยีได้ให้บริการตรวจวิเคราะห์ Thiopurine S-methyltransferase (TPMT) variants ด้วยเทคนิค PCR-RFLP (Polymerase Chain Reaction-Restriction Fragment Length Polymorphism) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีความผิดปกติของ TPMT variants เกิดขึ้น 4.27% ซึ่งในการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้จะใช้เวลาค่อนข้างนานต่อการวิเคราะห์ครั้งหนึ่ง รวมทั้งต้องใช้น้ำยา-สารเคมีหลายชนิด ดังนั้น ห้องปฏิบัติการฯ จึงได้พัฒนาการตรวจวิเคราะห์ TPMT variants 4 ชนิด ได้แก่ *2 (238G>C), *3A (460G>A, 719A>G), *3B (460G>A) และ *3C (719A>G) ด้วยเทคนิค multiplex Amplification Refractory Mutation System-Polymerase Chain Reaction (ARMS-PCR) เพื่อลดระยะเวลาและลดต้นทุนในการตรวจวิเคราะห์ โดยการสุ่มตัวอย่างของผู้ป่วยที่มีการส่งตรวจวิเคราะห์ TPMT variants ด้วยเทคนิค PCR-RFLP จำนวน 150 ราย จากตัวอย่างทั้งหมด 749 ราย นำมาตรวจหา TPMT polymorphism ด้วยเทคนิค multiplex ARMS-PCR พบว่าทุกตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิค multiplex ARMS-PCR ให้ผลที่สอดคล้องกับการตรวจด้วยเทคนิค PCR-RFLP นอกจากนั้นเทคนิค multiplex ARMS-PCR ยังให้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่รวดเร็วและช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มากกว่าการใช้เทคนิค PCR-RFLP โดยสรุป multiplex ARMS-PCR เป็นการตรวจวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพและดูเหมือนจะช่วยป้องกันความผิดพลาดจากการใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzyme) ที่อาจเกิดขึ้นจากเทคนิค RFLP ได้Publication Open Access การศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลที่มีต่อการใช้แนวทางการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยโดยกำหนดตัวส่งสัญญาณแต่เนิ่น ๆ ในโรงพยาบาลศิริราช(2564) เอกกนก พนาดำรง; วิจิตรา นุชอยู่; กาญจนา รุ่งแสงจันทร์; Ekkanok Panadamrong; Wichittra Nootyoo; Kanchana Rungsangjunการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลที่มีต่อการใช้ Siriraj Concurrent Trigger Tool by Modified Early Warning Signs (SiCTT by MEWS) เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศิริราช อายุงานมากกว่า 3 ปี จำนวน 465 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.916 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย และ การทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 96.5) อายุเฉลี่ย 36.07±9.094 ปี (พิสัย 22-59 ปี) อายุงานเฉลี่ย 13.49±9.109 ปี (พิสัย 3-48 ปี) หน่วยงานที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุดคือ งานการพยาบาลอายุรศาสตร์ฯ (ร้อยละ 30.8) เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการมากที่สุด (ร้อยละ 46.8) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 80.5) ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แนวปฏิบัติ (ร้อยละ 93.8) ระยะเวลาในการใช้แนวปฏิบัติอยู่ระหว่าง 1-120 เดือน (เฉลี่ย 30.70±16.65 เดือน) จำนวนแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่ระหว่าง 1-9 เรื่องต่อคน (เฉลี่ย 4.45±2.08 เรื่อง) แนวปฏิบัติ SiCTT by MEWS ที่ใช้มากที่สุด คือ แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับ Heparin (ร้อยละ 69.5) ความคิดเห็นในการใช้ SiCTT by MEWS พบว่าระดับความปลอดภัยของผู้ป่วยก่อนและหลังใช้ SiCTT by MEWS มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อระดับความปลอดภัยของผู้ป่วย ระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และผู้พัฒนาแนวปฏิบัติ (ผู้มีส่วนร่วมในการสร้าง/พัฒนา และผู้ให้ข้อเสนอแนะ) ทั้งภาพรวมและรายด้าน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สรุปได้ว่าความคิดเห็นของพยาบาลที่ใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนา SiCTT by MEWS เห็นด้วยว่า มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยมากขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรมีการพัฒนาเรื่องกระบวนการดำเนินงาน และการสื่อสารนโยบายและความสำคัญของการใช้ SiCTT by MEWS ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยสูงสุดPublication Unknown การป้องกันการติดเชื้อจากการทำหัตถการผ่านผิวหนังด้วยคลอเฮ็กซีดีน(2554) วิษณุ ธรรมลิขิตกุล; Visanu ThamlikhitkulPublication Open Access ภาวะแท้งติดเชื้อ(2554) เจนจิต ฉายะจินดา; Chenchit ChayachindaPublication Open Access ภาวะเจ็บครรถ์คลอดก่อนกำหนดและภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด(2554) สายฝน ชวาลไพบูลย์; สุจินต์ กนกพงศ์ศักดิ์; Saifon Chawanpaiboon; Sujin KanokpongsakdiPublication Open Access การประเมินการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์(2554) อนุวัฒน์ สุตัณฑวิบูลย์; สายฝน ชวาลไพบูลย์; Anuwat Sutantawibul; Saifon ChawanpaiboonPublication Open Access การจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(2554) สิริกานต์ ภูโปร่ง; สุทธิรา คำสิน; ทวี เลาหพันธ์; เอื้อพงศ์ จตุรธำรงPublication Open Access การติดเชื้อของสะดือและการดูแลสายสะดือในทารกแรกเกิด(2554) กติกา นวพันธุ์; Katika NawapunPublication Open Access ความรู้เบื้องต้นของชีววิทยาเซลล์ต้นกำเนิด(2554) ทัศนีย์ เพิ่มไทย; Tatsanee PhermthaiPublication Open Access Estimation of Reproduction Number of COVID-19 Spread Patterns in Thailand(2565) Laddawan Jansarikit; Metha YaikwawongCoronavirus disease 2019 (COVID-19) caused by severe acute respiratory syndrome–coronavirus 2 (SARS-CoV-2) and was declared as a pandemic. The purpose of this study was to estimation the reproduction number of COVID-19 Spread Patterns by using the data from 22 January to 30 June 2020. We applied the exponential growth rate to estimate the basic reproduction number (R0) according to the status of lockdown. The exponential growth model results during lockdown period indicate the basic reproduction number is 0.58 (95% CI: 0.55-0.60), whereas the basic reproduction number is 0.98 during easing of lockdown. The highest value of the basic reproduction number is 2.48 (95% CI: 2.21-2.77) during pre-lockdown phase II. The reduction of basic reproduction numbers (R0). suggested that timely implementation of control measures. The estimation of reproduction numbers could be used to analyze and evaluate the effectiveness of control measures and also used as a guide for public health policymakers for future COVID-19 outbreak. Moreover, with COVID-19 cases still present in Thailand, an estimation of basic reproduction number (R0) would be helpful for continuous monitoring of the effectiveness of the current public health policies implemented in Thailand.Publication Open Access รายงานกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการนวดไทยแบบราชสำนัก และประคบสมุนไพร ร่วมกับการรักษาฟื้นฟูมาตรฐาน(2565) วิภาวี จงกลดี; ชัญทิชา ดรุณสวัสดิ์; ธนภักษ์ เชาวน์พีระพงศ์; ศุภกิจ สุวรรณไตรย์; กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ; ประวิทย์ อัครเสรีนนท์; Wipavee Jongkoldee; Chanticha Darunsawat; Thanapak Chaowpeerapong; Supakij Suwannatrai; Kamontip Harnphadungki; Pravit Akarasereenonวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยแบบราชสำนักและประคบสมุนไพรร่วมกับการรักษาฟื้นฟูมาตรฐานของการแพทย์แผนปัจจุบัน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ณ หอผู้ป่วยใน วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับการนวดไทยแบบราชสำนักและประคบสมุนไพรร่วมกับการรักษาฟื้นฟูมาตรฐานของการแพทย์แผนปัจจุบัน ผลการศึกษา: รายงานผู้ป่วย 10 ราย ชาย 6 ราย (ร้อยละ 60) และหญิง 4 ราย (ร้อยละ 40) อายุเฉลี่ย 62.5±12.7 ปี เป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด 8 ราย และชนิดแตก 2 ราย ป่วยนาน 2-240 สัปดาห์ (37.4±72.8 สัปดาห์) ปัญหาที่พบคือ อ่อนแรงอย่างเดียว 2 ราย (ร้อยละ 20), อ่อนแรงร่วมกับอาการเกร็ง 2 ราย (ร้อยละ 20), อ่อนแรงร่วมกับอาการปวด 3 ราย (ร้อยละ 30), อ่อนแรงร่วมอาการเกร็งและปวด 3 ราย (ร้อยละ 30) ภายหลังรักษาฟื้นฟูมาตรฐานร่วมกับนวดไทยแบบราชสำนักและประคบสมุนไพร 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ นาน 1-4 สัปดาห์ พบผู้ป่วยมีกำลังกล้ามเนื้อดีขึ้น 9 ใน 10 ราย อาการเกร็งลดลง 3 ใน 5 ราย อาการปวดลดลง 4 ใน 6 ราย ผู้ป่วยทุกรายมีคะแนนดัชนีบาร์เธลเพิ่มขึ้น และไม่พบอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ สรุป: การนวดไทยแบบราชสำนักและประคบสมุนไพรร่วมกับการรักษาฟื้นฟูมาตรฐาน มีความปลอดภัย และน่าจะสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้Publication Open Access วิชาการในศิริราช - เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย(2551) วันชัย วนะชิวนาวิน